นาฬิกา

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เครืองบินดับไฟป่า


การใช้เครื่องบินดับไฟป่า
                อากาศยาน เป็นเครื่องมือที่ได้ผลดีที่สุดและรวดเร็วที่สุดในการดับไฟป่า ทั้งนี้รวมถึงการใช้เครื่องบินในการตรวจหาไฟ ในการประสานงานผลการดับไฟ และการขนส่งคนเข้าดับไฟได้รวดเร็ว แต่การใช้เครื่องบินในการดับไฟ จะต้องคำนึงถึงข้อดีและข้อเสียอยู่หลายประการโดยเฉพาะในแง่เศรษฐกิจ เพราะอาจเข้าสุภาษิตที่ว่า “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” แต่ถ้าจับตั๊กแตนได้วันละมากๆ มันก็คุ้มค่า
                ในขณะเดียวกัน หากสามารถนำเครื่องบินที่ใช้สำหรับสงคราม เช่น เครื่องบินกองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ มาดัดแปลงใช้เป็นครั้งคราวในการปราบไฟป่าที่รุนแรงก็จะเป็นการคุ้มค่าอย่างยิ่ง
                เครื่องบินของกองบินเกษตรที่จัดซื้อ และเตรียมไว้เพื่องานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น ส่วนมากมีขนาดเล็ก เช่น เครื่องแอร์ทรัค บรรทุกได้ 600 ก.ก. แฟลชเชอร์บรรทุกได้ 1,000 ก.ก. และปอร์ตเตอร์ บรรทุกได้ 1,000 ก.ก. ซึ่งเครื่องบินเหล่านี้จุดประสงค์แรกเพื่อใช้สำหรับการปราบศัตรูพืช แต่ก็สามารถดัดแปลงมาบรรทุกสารเคมีเพื่อดับไฟป่า และเพื่อทำฝนเทียมได้ด้วย ทำให้ประโยชน์การใช้งานคุ้มค่ายิ่งขึ้น เฮลิคอปเตอร์ ก็เป็นอากาศยานอีกแบบหนึ่งที่ใช้ได้สารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะในการตรวจจับผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เฮลิคอปเตอร์แทบจะไม่พอใช้เอาเลยทีเดียว ในการดับไฟป่า เฮลิคอปเตอร์มีความจำเป็นสูงมากในพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญสูง และต้องดูแลป้องกัน เช่น ที่โครงการควบคุมไฟป่าภูพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการควบคุมไฟป่าดอยตุง จังหวัดเชียงราย เป็นต้น
 อาร์ม AS305 ของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร

ประวัติของกองบินเกษตร
                เดิมกองบินเกษตรกำเนิดขึ้นมามาจากการเริ่มต้นโดยกรมการข้าวเป็นผู้คุมงบประมาณตลอดจนเครื่องบิน อุปกรณ์ต่างๆ และมอบให้กองทัพอากาศเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและสนับสนุนด้านนักบิน-ช่าง งานประจำคือการปฏิบัติงานพ่นยาปราบศัตรูข้าว ต่อมากองทัพอากาศไม่สามารถให้การสนับสนุนได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงจัดตั้งหน่วยบินเกษตรขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2506 โดยกำหนดหน้าที่ให้เป็นหน่วยบริการการบินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนั้นมีเครื่องบินอยู่ในความรับผิดชอบ 2 เครื่อง
                ในปี 2515 คณะปฏิวัติได้มีประกาศฉบับที่ 260 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2515 แบ่งส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใหม่ ในวันดังกล่าวหน่วยบินเกษตรยุบเลิกและตั้งเป็นกองบินเกษตร ขันตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันมีอากาศยานอยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 49 เครื่อง ภารกิจกองบินเกษตรที่ปฏิบัติให้บริการด้านการบินเกี่ยวกับ
-           การบินทดลองพ่นยาปราบศัตรูพืชและวัชพืช
-           การบินปฏิบัติงานทำฝน-ปรับปรุงสภาพอากาศ
-           การบินปฏิบัติงานสำรวจและปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
-           การบินบริการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดและนอกสังกัด เกี่ยวกับกิจการด้านการเกษตรที่ได้เริ่มปฏิบัติการทดลองใช้อากาศยานในการปลูกพืชอาหารสัตว์ งานควบคุมไฟป่า งานจำกัดโรคแมลงในสวนยาง ซึ่งจะนำผลการทดลองไปขยายปฏิบัติในแปลงใหญ่ต่อไป รวมทั้งการบินสนับสนุนภารกิจต่างๆ ในโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง(โครงการอีสานเขียว)
 
การใช้เครื่องบินปีกสำหรับตรวจหาไฟ
                การใช้เครื่องบินในการตรวจหาบริเวณที่เกิดไฟป่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด รวดเร็ว และแม่นยำที่สุด โดยเฉพาะสามารถบอกรายละเอียดของที่ตั้งภูมิประเทศ ชนิดของเชื้อเพลิง ทิศทางของลม ความเร็วของลม สิ่งแวดล้อม ทางเข้าโจมตีและทางหนีทีไล่ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
                การใช้เครื่องบินในการตรวจหาไฟนั้น ควรทำเมื่อดัชนีไฟขึ้นสูง ไม่มีเมฆหมอก ต้องใช้เครื่องบินที่สามารถบินได้ต่ำกว่าระดับ 1,500 เมตรจากระดับยอดไม้ และสามารถมองสองข้องทางได้ไม่ต่ำกว่า 15 เมตร ถ้าหากหมอกที่คลุมพื้นดินหนามาก ภูเขาก็สลับซับซ้อนในแต่ละหุบเขาจะต้องกำหนดแนวบินให้ละเอียดลงไปอีก และเครื่องไม่ควรบินสูงกว่า 1,000 เมตร จากยอดไม้ หรือให้ดีควรอยู่ในระดับ 200 เมตร จากยอดสูงสุดในพื้นที่นั้น
                ก่อนออกเดินทางไปตรวจหาไฟ จะต้องมีการวางแผนบินให้เป็นที่พอใจของนักบินและเจ้าหน้าที่ไฟป่า โดยกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายลงในแผนที่ให้ชัดเจน บริเวณที่เป็นลุ่มน้ำและเขาสูงหมายไว้ให้ชัดเจนในแผนที่ จะทำให้การหมายจุดไฟไหม้ทำได้แน่นอนและถูกต้อง อีกวิธีหนึ่งคือการคำนวณจากความเร็วของเครื่องบินจากจุดที่กำหนดจุดหนึ่งไฟอีกจุดหนึ่ง จะทำให้ตัดสินใจจุดเกิดของไฟได้แน่นอนขึ้น การใช้เข็มทิศ เครื่องวัดความสูง และเครื่องวัดความเร็ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนใช้งาน
                การเลือกใช้แผนที่ซึ่งเหมาะสมก็มักจะมีปัญหา นักบินส่วนมากจะใช้แผนที่มาตราส่วน 1: 1,000,000 เพื่อสะดวกในการวางทิศทางการบิน ซึ่งแผนที่อันนี้อาจจะยากสำหรับชี้จุดที่เกิดไฟไหม้สำหรับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ซึ่งปกติแล้วจะเคยชินกับแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ทั้งสองฝ่ายก็มักจะไม่ยอมเปลี่ยน จึงจำเป็นต้องตกลงเสียก่อนทำงานว่าจะใช้แผนที่มาตราส่วนใด
                เมื่อตรวจที่ตั้งของไฟแน่ชัดแล้ว เจ้าหน้าที่ป่าไม้จะเป็นผู้รายงานมายังหน่วยดับไฟให้ทราบถึงที่ตั้งของไฟ ทิศทางและความเร็วของลม และพฤติกรรมของไฟขนาดนั้น และให้ข้อมูลจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ดับไฟเข้าถึงไฟเสียก่อนจึงจะหมดภารกิจ
                เพื่อทราบความแน่นอนว่าข้อมูลที่ส่งให้เจ้าหน้าที่ดับไฟทราบนั้นใช้ได้ผล จะต้องรายงานให้ศูนย์ทราบทั้งภาคพื้นดิน ภาคอากาศ เมื่อเห็นว่าตรงกันและสำรวจเบื้อต้นได้ผลตรงกันภารกิจจึงจะจบ  
 
การสำรวจก่อนส่งคนเข้าดับไฟ
                ในระหว่างการตรวจหาไฟ จุดประสงค์เพื่อให้พบจุดที่เกิดไฟ และรู้เพียงว่า เช่น ไฟขนาดเล็ก ปานกลาง หรือขนาดใหญ่ ซึ่งหากเมฆบังมากนักก็สามารถจะมองเห็นได้ชัด และชี้จุดให้หน่วยลาดตระเวนภาคพื้นดิน สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ไม่มีการเข้าใจผิดหากเป็นไปได้หน่วยบินจะต้องบินใต้เมฆให้ภาคพื้นดินมองเห็นได้ชัดเจนว่าอยู่ทิศทางใด และการวางแผนดับไฟร่วมกันก็จะได้ผล ในกรณีที่เกิดไฟขนาดใหญ่ ควันคลุมพื้นที่ป่าเต็มไปหมด ยากที่หน่วยบินจะให้ข้อมูลแก่ภาคพื้นดินได้ เครื่องบินทำได้เพียงแต่รายงานขอบเขตของควันไฟโดยรอบๆ และอาจช่วยในการแยกไฟออกเป็นส่วนๆ หน่วยดับไฟที่ติดอยู่ตรงกลางอาจขอความช่วยเหลือในการแนะนำทางหนีจากหน่วยการบินได้ หากควันไฟมากเกินไปหรือมองไม่เห็นเลย ก็จำเป็นต้องรอจนกระทั้งวันรุ่งขึ้น โดยรีบปฏิบัติการตั้งแต่เช้าตรู่ ก็สามารถวางแผนวันต่อวันได้
                ในการกำหนดขอบเขตของไฟ จึงจำเป็นต้องบินในระดับ 1,000 – 1,500 เมตร เหนือยอดไม้ ถ้าต้องการให้กำหนดจุดที่ตั้งของเจ้าหน้าที่ดับไฟ เครื่องมือดับไฟ และจุดที่ต้องป้องกันไฟ เจ้าหน้าที่จะต้องทำรายงานโดนกำหนดลงในแผนที่ให้เห็นเด่นชัด หรือหากสามารถถ่ายรูปประกอบได้ก็จะดียิ่งขึ้น หากไม่มีกล้องก็ให้ใช้ดินสอสีต่างๆ กำหนดลงไปให้ชัดเจนทุกจุด
 
การสำรวจไฟในตอนกลางคืน
            การสำรวจขอบเขตของไฟในตอนกลางคืนอาจทำได้โดยอาศัยที่สูง ซึ่งอาจมองเห็นไฟได้โดยรอบ ต้นไม่ที่ยังไหม้อยู่ จะช่วยให้มองเห็นขอบเขตของไฟให้ได้ชัดเจน ซึ่งเราจะเห็นความรุนแรงของไฟแต่ละจุดได้ชัดเจนกว่ากลางวัน
 
การใช้แสงอินฟราเรดสำรวจไฟ
                ในกรณีที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ฟิล์มอินฟราเรดสามารถให้รายละเอียดขอบเขตของไฟได้ และสามารถลงแผนที่ได้แน่นอน การทำงานต้องการคนที่เข้าใจในวิชาถ่ายภาพและวิชาแผนที่ได้อย่างถูกต้อง และสามารถบินสำรวจในช่วงไหนก็ได้ เทคโนโลยีในด้านนี้กำลังก้าวหน้าไฟอีกมาก แต่ยังไม่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย
 
การสำรวจบริเวณไฟไหม้โดยวิธีถ่ายภาพ
                ภาพถ่ายทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นสเตอร์โดหรือโมเสดก็สามารถใช้ในการสำรวจ เพื่อวางขอบเขตของไฟได้อย่างชัดเจน และสามารถทำให้มองเห็นเส้นทางเดิน ถนน และแม่น้ำได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นภาพถ่ายทางอากาศยังใช้ช่วยในการตัดสินใจวางแนวกันไฟ ในการวางแผนปลูกสร้างสวนป่า วางแผนในการชิงเผา โดนเฉพาะภาพถ่ายทางอากาศจะช่วยในการคำนวณค่าเสียหายจากไฟไหม้ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
 
การใช้เครื่องบินช่วยในการชิงเผา
                วิธีการชิงเผาโดยการปล่อยไฟลงมาเป็นระยะ ได้เคยพัฒนาขึ้นมาที่กรมป่าไม้ของออสเตรเลีย เมื่อปี 1965 และเดี๋ยวนี้ใช้กันทั่วไฟในประเทศออสเตรเลีย เครื่องมือที่ใช้เป็นการทำปฏิกิริยากันระหว่างสารเคมีสองชนิด คือ โปรแตสเซียมเปอร์แมงกาเนตและอิทเทอร์ลีนกลีคอล ซึ่งเป็นสารสองอย่างที่ผสมกันจะรุกไหม้ภาพใน 30 วินาที วิธีทำไม่ยากเลยโดยใช้โปรแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต และอิทเทอร์ลีนอย่างละถุงมาผสมในถุงใหญ่ใบเดียวกัน กะว่าเมื่อตกระทบพื้นดินถุงจะแตกทำให้สารทั้งสองผสมกัน โดยทิ้งจากความสูง 50 – 250 เมตร เมื่อถุงตกกระทบพื้นประมาณ 2 – 3 วินาที ก็จะเกิดไฟไหม้ สมความใช้ความเร็วในการบิน 100 นอต และปล่อยถุงเคมีทุกๆ 6 วินาที จะได้ระยะทางของจุดไฟไหม้ห่างกันจุดละ 300 เมตร
            ในการทำงานควรใช้คนฝึกอย่างดีแล้ว 3 คน คือ นักบิน คนคุมถุงไฟ และคนสังเกตการรุกไหม้ โดยปกติจะใช้ระยะห่างระหว่างแถวในการจุดเผา 100 – 400 เมตร
 
การเผากลับโดยใช้เครื่องบิน
                การเผาโดยวิธีที่กล่าวมาแล้วนั้น อาจนำมาใช้ในการเผากลับได้อีกด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่ภาคพื้นดินได้เผากลับแล้ว แต่แนวไฟที่เผากลับไหม้ช้ามาก อาจจะใช้เครื่องบินปล่อยถุงไฟในระหว่างแนวกันไฟจริงกับแนวกันไฟเผากลับ เพื่อช่วยให้ไฟไหม้บริเวณที่ต้องการกำจัดเชื้อไฟได้เร็วขึ้น การเผากลับนี้สำควรใช้เฮลิคอปเตอร์ จะดีกว่าใช้เครื่องบินปีก แต่เครื่องบินมักจะเหมาะสมกับการชิงเผาในพื้นที่กว้างๆ
 
การใช้สารเคมีดับไฟ
                ภาระกิจการดับไฟป่าส่วนมากแล้วอยู่ที่เจ้าหน้าที่ดับไฟภาคพื้นดิน ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจหลัก เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่จะพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นมีประสิทธิภาพดีขึ้น เครื่องบินเป็นอุปกรณ์อันหนึ่งที่สามารถทำได้ ในสหรัฐได้ใช้เครื่องบินทิ้งน้ำดับไฟป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2464 และได้พัฒนางานด้านนี้ขึ้นมาก อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันการใช้เครื่องบินดับไฟป่ายังอยู่ในวงจำกัด การใช้คนดับไฟยังคงเป็นงานหลักอยู่   
                การใช้เครื่องบินดับไฟป่าใช้เพื่อสนับสนุนการดับไฟของเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินนี้ ได้พัฒนาขึ้นมาในอเมริกาเหนือ ส่วนในออสเตรเลียได้นำเอาระบบอเมริกามาใช้โดยดัดแปลงให้เข้ากับสภาวะท้องที่ และสภาวะภูมิประเทศ และเชื้อเพลิงของออสเตรเลีย
                การดับไฟส่วนมาจะมุ่งอยู่ที่ขอบของไฟ และปล่อยให้ภายในของไฟถูกไหม้ไปโดยไม่มีการสนใจ วิธีเดียวกันนี้ได้นำมาใช้กับการดับไฟโดยตรงทางอากาศ โดยเฉพาะในกรณีไฟขนาดใหญ่ เครื่องบินอาจใช้ในการดับที่ขอบไฟโดยตรง มีเจาหน้าที่ภาคพื้นดินคอยดับไฟให้สนิท เมื่อไฟลดความรุนแรงลงแล้ว
                ในขณะที่ทิ้งน้ำลงมาในอากาศจะมีส่วนหนึ่งระเหยไประหว่างทาง เพื่อป้องกันการระเหยระหว่างทางเช่นนี้ ได้มีการนำน้ำใส่ถุงพลาสติกแล้วทิ้งลงมา ปรากฏว่าสามารถดับได้ไม่เกิดครั้งละ 100 ตารางเมตร จึงเป็นข้อจำกัดอีกอันหนึ่ง และอาจเป็นอันตรายแก่คนที่อยู่ข้างขอบไฟได้
                ในปี พ.ศ. 2493 มีการใช้เครื่องบินดับไฟป่าในสหรัฐอเมริกาอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะเครื่องบินขนาดบรรทุก 400 – 800 ลิตร นักบินจะทิ้งน้ำได้ทีเดียวทั้งหมด หรืออาจแบ่งเป็น 2 ครั้ง ในประเทศแคนาดาซึ่งมีทะเลสาบอยู่มาก นิยมใช้เครื่องบินลอยในน้ำแล้วตักน้ำไปได้เลย มักจะออกแบบให่ตักน้ำได้ติดต่อกัน ซึ่งช่วยลดความร้อนของไฟให้แก่ภาคพื้นดินได้อย่างมาก
                ในปี พ.ศ. 2503 อเมริกาได้พัฒนาเครื่องบินขนาดใหญ่บรรทุกน้ำได้ 2,000 – 10,000 ลิตร และบางลำถึง 20,000 ลิตร เพื่อใช้ในการดับไฟป่า และได้พัฒนาประตูเปิดน้ำให้สามารถทิ้งน้ำได้คราวละหลายๆ ครั้ง
                แม้ว่าน้ำจะเป็นตัวทำให้ไฟเย็นลงได้ดีที่สุด แต่เมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีแล้ว ผลที่ได้รับแตกต่างกันมาก ในระหว่างปี ค.ศ. 1960 ได้มีการเอาสารเคมีมาผสมน้ำ เพื่อป้องกันการลุกไหม้ของไฟ สารจำพวกวุ้นได้นำมาใช้ก่อน เพื่อลดการระเหยของน้ำเมื่อถึงเชื้อเพลิงแล้ว และเพื่อป้องกันมิให้ออกซิเจนเข้าไปช่วยในการลุกไหม้ หลังจากนั้นได้พัฒนาสารเคมีขึ้นมาอีกหลายชนิด โดยมากเป็นการทำให้เชื้อเพลิงไหม้ในอุณหภูมิที่สูงกว่า จนในปัจจุบันการใชน้ำธรรมดาในการดับไฟ แทบจะไม่มีในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย
                มีข้อจำกัดอยู่หลายประการในการใช้เครื่องบินดับไฟป่า เครื่องบินมิอาจทำงานได้ในเวลากลางคืน หรือเวลากลางวันที่มีเมฆหมอกมาก ในภูมิประเทศที่มีภูเขาสลับซับซ้อนหรือลมจัดจนเครื่องบินไม่อาจบินต่ำได้ ก็หมดโอกาสใช้เครื่องบินดับไฟ หรือหากไฟไหม้รุนแรงเคลื่อนที่เร็วมาก การใช้เครื่องบินดับก็ยากที่จะทิ้งน้ำให้ได้ผล ที่ได้ผลที่สูดก็เฉพาะในสภาวะที่เหมาะ คือไฟขนาดเล็ก หรือใช้เครื่องบินทิ้งน้ำทำให้ไฟเย็นลง เพื่อป้องกันอย่าให้ไฟลุกลามได้เร็ว เป็นการรอให้ภาคพื้นดินเข้าทำงาน
                ในประเทศออสเตรเลียไม่นิยมใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ เพราะเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายออกมา สูงถึงปีละหลายร้อยล้านดอลล่าร์ ยังไม่คุ้มค่าเหมือนในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ออสเตรเลีย จึงกำหนดให้ใช้เครื่องบินที่ผลิตเพื่อใช้ในฟาร์มมาดัดแปลงใช้ในการดับไฟป่าด้วย ซึ่งปกติแล้วสามารถบรรทุกน้ำได้ 500 – 1,200 ลิตร ก็จะใช้ได้ดีในการควบคุมไฟมิให้ลุกไหม้เร็ว เพื่อรอภาคพื้นดินเข้าทำงาน
 
หน่วยอัคคีเวหา(SMOKE JUMPER)
            ในสหรัฐอเมริกาได้ใช้นักโดดร่มมาฝึกให้ดับไฟป่า แล้วส่งลงไปในป่าซึ่งห่างไกลจากทางรถยนต์มาเป็นเวลานานแล้ว เรียกหน่วยนี้ว่า “สโมคจัมเปอร์” วิธีการนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีและคุ้มค่า จึงยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน หน่วยอัคคีเวหามีฐานใหญ่อยู่ที่มอนตานาในประเทศแคนาดา และออสเตรเลียยังไม่มีการพํฒนาหน่วยงานนีขึ้น เนื่องจากยังไม่อาจให้ความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ แต่ทั้งสามประเทศได้พัฒนาระบบ “เฮลี่จัมเปอร์” หรือการโรยตัวทางดิ่งลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงกว่า และสามารถลงดับไฟได้ตรงจุดที่ต้องการ
               
การส่งสัมภาระทางเครื่องบิน
                ในประเทศออสเตรเลีย รถยนต์และทางเดินมีมากพอ ฉะนั้นการส่งของทางเครื่องบิน โดยใช้ร่มมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตามบางคราวการส่งอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องมือดับไฟอาจยังจำเป็นอยู่
 
การใช้เครื่องบินปีกในกรณีพิเศษ
                เครื่องบินมักใช้ในการส่งพนักงานดับไฟได้รวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อมีไฟขนาดใหญ่ การขนส่งอาหารและเครื่องดื่มรวมทั้งเครื่องมือที่ต้องการเพิ่มเติม โดนใช้เครื่องบินทำงานเร็วกว่ามาก
                ในระหว่างการตรวจสอบวางแผนดับไฟ การทำแผนที่ภาพถ่าย และเก็บข้อมูลอื่นๆ สามารถใช้เครื่องบินปีกได้รวดเร็วเช่นกัน
                เครื่องบินสามารถให้ข้อมูลสภาวะของอากาศจากดินสูงขึ้นไปบนฟ้าได้ถึง 300 เมตร ความเร็วและทิศทางของลมในระดับต่างๆ สามารถอ่านได้อย่างถูกต้อง ทำให้สามารถจัดเครื่องมือดับไฟได้ตามความจำเป็น เครื่องบินปีกยังอาจใช้สังเกตเมฆฝนและฟ้าผ่าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย และโดยเฉพาะเครื่องบินยังช่วยทำนาย การเปลี่ยนทิศทางของลมได้อย่างถูกต้อง
               
เฮลิคอปเตอร์
                เฮลิคอปเตอร์ใช้ในกิจกรรมไฟป่าได้ดีกว่าเครื่องบินปีก และต้องการที่ขึ้นลงเพียงแคบๆ ส่งและรับเจ้าหน้าที่หลังเสร็จภารกิจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว สามารถใช้ทิ้งนำหรือสารเคมีได้ตรงจุดที่ต้องการได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะการใช้งานในระยะสั้น ความคล่องตัวสูงกว่าเครื่องบินมาก สามารถบินได้ช้า ช่วยในการสำราจรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างชัดเจน เช่น รายละเอียดสภาพภูมิประเทศ ชนิดของเชื้อเพลิง จุดอ่อนของเฮลิคอปเตอร์อยู่ที่หากมีลมจัดเกินไปการปฏิบัติงานทำไม่ได้ และค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกันแล้ว การใช้เฮลิคอปเตอร์มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้เครื่องบินปีกเป็นอันมาก
                การใช้เฮลิคอปเตอร์สำรวจ หรือขนส่งต้องเสียค่าใชจ่ายมากกว่าก็จริง แต่ผลการปฏิบัติงานทำได้รวดเร็วและแน่นอนกว่ามาก จึงนิยมทำกันในเนื้อที่ไม่เกิน 1,000 เฮกแตร์ เป็นที่รู้แล้วว่าการขนส่งคนและเครื่องมือเข้าดับไฟโดยใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นวิธีการที่เร็วที่สุด
                ในประเทศไทยได้ใช้เฮลิคอปเตอร์ในการดับไฟป่าเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2526 ที่โครงการควบคุมไฟป่าภูพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยกงบินเกษตรได้จัดเครื่องเบลล์ขนาดบรรทุก 4 คน และยกน้ำหนักได้ 520 ลิตร และต่อมาก็ได้ใช้เฮลิคอปเตอร์ทุกปี ขณะนี้ใช้ที่โครงการควบคุมไฟป่าภูพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ และที่โครงการควบคุมไฟป่าดอยตุง จังหวัดเชียงราย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เครืองบินดับไฟป่ามีดังนี้
            1. เฮลิคอปเตอร์
               - ปฏิบัติงานได้เร็วกว่าภาคพื้นดิน 7 เท่า
                   - ลดความเสียหายจากไฟป่าลง 12 เท่า
                   - การทำงานตรงเป้า หวังผลได้แน่นอน และสามารถเข้าถึงจุดหมายที่ทางคมนาคมไปไม่ถึง
                   - ได้ผลทางจิตวิทยามวลชน
            2. เฮลิคอปเตอร์ผสมเครื่องบินปีก
                   - ได้ผลดีเช่นเดียวกับข้อ 1
                   - ค่าใช้จ่ายลดลง 2 เท่า
                   - ปฏิบัติงานได้ในพื้นที่กว้างขวาง
 
ความต้องการใช้ในงานภารกิจควบคุมไฟป่า
            ในประเทศไทยปัจจุบันสมควรจัดชุดเฮลิคอปเตอร์ผสมเครื่องบินปีก 5 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย
                   -เฮลิคอปเตอร์ 1 เครื่อง สำหรับดับไฟจุดสำคัญเป็นพิเศษ
                   -เซสนา 1 เครื่อง สำหรับการตรวจลาดตระเวนพื้นที่กว้างไกล
                   -ปอร์ตเตอร์ หรือแฟลชเชอร์ 5 เครื่อง สำหรับภารกิจดับไฟป่า และโปรยสารเคมีทำแนวกันไฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น