นาฬิกา

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงสร้างโวลต์มิเตอร์


โครงสร้างโวลต์มิเตอร์
           โวลต์มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้าหรือแรงดันตกคร่อม) ระหว่าง จุดสองจุด ในวงจร ความจริงแล้วโวลต์มิเตอร์ก็คือแอมมิเตอร์นั่นเอง เพราะขณะวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร หรือแหล่ง จ่ายแรงดันจะต้องมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมิเตอร์จึงทำให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนไป และการที่กระแสไฟฟ้าจะไหล ผ่าน เข้าโวลต์มิเตอร์ได้ ท็ต้องมี แรงดันไฟฟ้าป้อนเข้ามา นั่นเองกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและ
กัน กระแสไฟฟ้าไหลได้มากน้อยถ้า จ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้ามาน้อย กระแสไฟฟ้าไหลน้อย เข็มชี้บ่ายเบนไปน้อยถ้าจ่าย แรงดันไฟฟ้าเข้ามามาก กระแสไฟฟ้าไหลมาก  เข็มชี้บ่ายเบนไปมาก การวัด แรงดันไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์แสดง
ดังรูป


                             




         การที่สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้ก็อาศัยปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมิเตอร์กระแสไฟฟ้าที่ไหล ผ่านมิเตอร์ก็ขึ้น อยู่กับปริมาณของแรงดันที่จ่ายเข้ามา ดังนั้นการวัดปริมาณของแรงดันไฟฟ้าก็คือ การวัดปริมาณ ของกระแสไฟฟ้านั้นเอง เพียงแต่เปลี่ยนสเกลหน้าปัดของมิเตอร์ให้แสดงค่าออกมา เป็นค่าปริมาณ ของแรงดัน ไฟฟ้าเท่านั้น และปรับค่าให้ถูกต้อง
          กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าโวลต์มิเตอร์จะมีขีดจำกัดขึ้นอยู่กับค่าการทนกระแสได้ของโวลต์มิเตอร์ตัว
นั้น ดังนั้นเมื่อนำโวลต์มิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟฟ้าค่ามาก ๆ ย่อมส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าโวลต์มิเตอร์มาก 
ตามไปด้วย ซึ่งถ้ามากเกินกว่า ที่โวลต์มิเตอร์ทนได้  ก็ไม่สามารถนำโวลต์มิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟฟ้าค่านั้นได้ การดัดแปลงให้ดาร์สันวาล์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ หรือโวลต์มิเตอร์เดิมสามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้สูงมากขึ้น ทำได้ โดยใช้ตัวต้านทานที่เหมาะสมมาต่ออันดับหรืออนุกรมกับมิเตอร์  เดิมเพื่อจำกัดจำนวนกระแสที่ไหลผ่านเข้า โวลต์มิเตอร์ไม่ให้เกินกว่าค่ากระแสไฟฟ้าเดิมที่มิเตอร์เดิมทนได้ทำให้ สามารถนำโวลต์มิเตอร์ไปวัดค่าแรงดัน ไฟฟ้าได้สูงมากขึ้นตามต้องการ ตัวต้านทานที่นำมาต่ออันดับกับดาร์สันวาล์มิเตอร์ แอมมิเตอร์หรือโวลต์มิเตอร์ เดิมเพื่อให้โวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าได้มากขึ้นเรียกว่าตัวต้านทานอันดับ(Series Resistor) หรือตัวต้านทาน
ทวีคูณ (Multiplies Resistor) ลักษณะการต่อตัวต้านทานอันดับเข้ากับดาร์สันวาล์มิเตอร์ แสดงดังรูป
                                         

         จากรูป เป็นการต่อตัวต้านทานอันดับเข้ากับดาร์สันวาล์มิเตอร์ ทำให้ดาร์สันวาล์มิเตอร์กลายเป็น
มิลลิโวลต์มิเตอร์ หรือ โวลต์มิเตอร์หรือกิโลโวลต์มิเตอร์  การจะทำเป็นมิเตอร์วัดแรงดันย่านใดหรือขนาด
ใดนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของความต้านทาน อันดับที่นำมาต่อ ว่ามีค่าความต้านทานมากน้อยเท่าไรความต้าน ทานอันดับมีค่าน้อยจะวัดแรงดันได้ต่ำ  อาจเป็นมิลลิโวลต์หรือ โวลต์ ถ้าความต้านทานอันดับมีค่ามากจะวัด
แรงดันได้สูงขึ้น อาจเป็นกิโลโวลต์หรือตัวต้านทานทวีคูณที่ใช้ต่อ อันดับกับ ดาร์สันวาล์มิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ เพื่อเพิ่มการวัดแรงดันได้มากขึ้น แสดงดังรูป

   


         ตัวต้านทานอันดับตามรูปที่ 4 เป็นตัวต้านทานที่ใช้ต่อเพิ่มภาย   นอกโวลต์มิเตอร์ช่วยเพิ่มค่าการวัดแรงดันได้สูงขึ้นเป็นกิโลโวลต์มิเตอร์ ตามรูปสามารถวัดแรงดันได้สูงสุด  2  ค่าคือ 1.5kV และ  3kV ตัวต้าน ทานอันดับมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับการเลือกมาใช้งานร่วมกับโวลต์มิเตอร์ ต้องเลือกให้เหมาะสมทั้งตัวต้านทานอันดับและโวลต์มิเตอร์ จึงจะทำให้ การวัดค่ามีความถูกต้อง    เลือกให้เหมาะสมทั้งตัวต้านทานอันดับและ โวลต์มิเตอร์ จึงจะทำให้การวัดค่ามีความถูกต้องลักษณะ การต่อตัวต้าน ทานอันดับภายนอก โวลต์มิเตอร์ แสดงดังรูป
    
                                   

           จากรูปข้างบน เป็นการต่อตัวต้านทานอันดับเพิ่มภายนอกโวลต์มิเตอร์ เพื่อเพิ่มย่านการวัดค่าแรงดันของ โวลต์มิเตอร์ ให้วัดค่าแรงดันได้สูงขึ้นตามต้องการตามรูปต่อตัวต้านทานอันดับย่าน 3kV เข้ากับ ดีซีโวลต์มิเตอร์ย่าน
3V  ขั้วบวก  ส่วนขั้วลบ ดีซีโวลต์มิเตอร์ต่อกับขั้วลบแหล่งจ่ายแรงดันสามารถทำให ้ดีซีโวลต์มิเตอร์ตัวนี้วัด แรงดัน ได้สูงสุดถึง 3 กิโลโวลต์หรืออาจย้ายขั้ว ต่อวัดของตัวต้านทานอันดับจากจุด 3kVมาที่จุด 1.5kV ได้ ดีซีโวลต์มิเตอร์
ตัวนี้ จะสามารถวัดแรงดันได้สูงสุด 1.5 กิโลโวลต์ ส่วนจุดต่อกราวด์ ใช้ต่อลงกราวด์ร่วมกับจุดกราวด์ของ วงจรที่นำ ดีซีโวลต์มิเตอร์ไปต่อวัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น